ความตื่นรู้ vs รู้ vs ความตระหนก Self-awareness vs Knowledge vs Panic

 

เราไม่สามารถทำให้คนตื่นรู้ ตระหนักรู้ หรือมีสติ  “โดยการบอก” ให้คนตื่นรู้ บอกให้คนตระหนักรู้ บอกให้คนมีสติ ความตื่นรู้นั้นเกิดขึ้นภายในตนเอง ด้วยตนเอง และเช่นกันเรา “ห้าม” ให้คนไม่ตระหนกไม่ได้ เราไม่สามารถทำให้คนไม่ตระหนก โดยการบอก สิ่งที่เราทำได้คือทำให้  “รู้” โดยการให้ข้อมูล สิ่งที่ผู้นำควรทำในภาวะวิกฤตคือ สื่อสารด้วยข้อมูลเท็จจริง รวมถึงเข้าใจจิตวิทยาความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ 5 ด้าน

      1.  ความรู้สึกปลอดภัย   a sense of safety
      2.  ความสงบ   calming
      3.  พลัง ความเข้มแข็งในตนเองและชุมชม   self- and community efficacy
      4.  ความผูกพันในชุมชน สังคม   social connectedness
      5.  ความหวัง  hope

 

ความตื่นรู้ การตระหนักรู้ นำมาซึ่ง “สติ” สิ่งนี้เกิดขึ้นจากการฝึก ปฏิบัติ และความตระหนักรู้จะเกิดขึ้นจากภายในตนเอง เกิดขึ้นได้ต้องฝึกด้วยตัวเองด้วยความตั้งใจ

ความตระหนก เกิดขึ้นจากการเห็น อ่าน ฟัง และตีความ ซึ่งหลายครั้งแต่งเติมด้วยจินตนาการ

 

ฝาก GIF ชิ้นนี้ไว้ครับ ได้รับจากอาจารย์ Zaid Hassan ผู้ก่อตั้ง Social Lab ครับ

จากภาพนี้เตือนให้พวกเราตระหนักรู้กับสถานการณ์ โรคระบาดที่โลกเรากำลังเจอกันอยู่ครับ

https://thespinoff.co.nz/wp-content/uploads/2020/03/Covid-19-curves-graphic-social-v2.gif?fbclid=IwAR05lqnN2qALopNdWSAjNy6MbwKSOjbFoYjECUA5_YzpD_uNLxsc01CHDLg

 

In time of Crisis…

Being mindful in your own thoughts & actions are needed…

Collective Leadership for Collective Impact…

Co-Creating Culture of Collaboration…

“พลังร่วม ผู้นำร่วม

วัฒนธรรมความร่วมมือ”


Dr-Udom-Sociallabthailand

Writer Profile
Udom Hongchatkul, Ph.D.

Founder & CEO Social Lab Thailand