ทำไมจะต้องพัฒนาองค์กร Why OD ?

OD-organization-development
ทำไมจะต้องพัฒนาองค์กร ?

       ผมว่าคำถามนี้คล้ายๆ กับคำถามที่ว่า ทำไมจะต้องเปลี่ยนให้ดีขึ้นกว่าเดิมด้วย ผมมีเรื่องจะเล่าให้คุณผู้อ่านฟังครับ ทฤษฎีกบต้ม ของ Tichyand Sherman มีนักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่งชื่อ Tichyand Sherman เขาได้ทดลองนำกบมีชีวิตอยู่ 2 ตัว ไปต้มในหม้อที่ใส่น้ำ 2 ใบ ศึกษาปฏิกิริยาของกบแต่ละตัว หม้อใบแรก เป็นหม้อน้ำเดือดจัด หม้อใบที่สองเป็นหม้อน้ำที่อุ่นและทำให้ค่อยๆ ร้อนขึ้นจนเดือด เขาได้ทดลองนำกบตัวแรกใส่ในหม้อน้ำที่เดือดจัด ตัวที่สองใส่ในหม้อน้ำอุ่น ที่ทำให้ร้อนขึ้นจนเดือด  โดยดูว่า กบตัวไหนจะรอดชีวิต และ ตัวไหนจะตายก่อน ผลปรากฏว่า กบที่ใส่ในหม้อน้ำเดือด กระโดดหนีจากหม้อ ตั้งแต่หย่อนมันลงไปในหม้อ มันรอดชีวิต แต่กบที่ใส่ในหม้อน้ำอุ่นที่ค่อย ๆ ร้อนขึ้นกลับตาย ที่เป็นเช่นนี้ เขาสรุปความว่า กบในหม้อน้ำเดือดจะรู้ว่าน้ำร้อน จึงกระโดดออกมาหลังสัมผัสน้ำเดือดทันที แต่กบที่อยู่ในน้ำอุ่นจะรู้สึกสบาย ไม่มีอะไรเกิดขึ้น แม้ว่าน้ำจะค่อย ๆ อุ่นขึ้นก็ไม่ยอมกระโดดออกมา ยังคงอยู่ในหม้อน้ำจนกระทั่งน้ำเดือดจนตาย

      เพราะ … โลกหมุนเร็วขึ้นทุกวัน สังคมเราปัจจุบันนี้ ก็ไม่ต่างอะไรจาก “หม้อน้ำอุ่นที่ค่อยๆ ร้อนขึ้นจนเดือด” ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และดูเหมือนว่า “หม้อน้ำอุ่น” ใบนี้ จะร้อนขึ้นเร็วเสียด้วย เรามาดูตัวอย่างกันถึง ยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ที่ผ่านมากันดีกว่า นะครับ

 

ยุคเริ่มแรกคือ ยุคเกษตรกรรม

มนุษย์ทำไร่ไถนาทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ มาตั้งแต่ 10,000 ปีก่อน ค.ศ.
ยุคต่อมาคือ ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เกิดขึ้นที่ประเทศอังกฤษ ค.ศ. 1760 มีการนำเอาเครื่องจักรไอน้ำมาประดิษฐ์
เป็นเครื่องจักรทอผ้าและใช้ถ่านหิน เป็นพลังงานทางการผลิต ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากการยังชีพ มาเป็นการค้ามากขึ้นเรื่อยๆ

ถัดมาคือ ยุคเทคโนโลยี

เริ่มขึ้นช่วง ค.ศ. 1946 มีการประดิษฐ์คิดค้น  เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก ที่ชื่อว่า “ENIAC”
ความยาว 80 ฟุต หนัก 30 ตัน ใช้หลอดสุญญากาศ 18,000 หลอด

ยุคถัดมาคือ ยุคสารสนเทศและการสื่อสาร

เริ่มขึ้นในช่วงที่คอมพิวเตอร์ มีราคาไม่แพงมาก ใครๆ ก็หาซื้อไว้ใช้งานได้ ยังมีการเชื่อมต่อ
เป็นระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกันได้ทั่วโลก ในปี ค.ศ.1990

ยุคล่าสุดคือ ยุคทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม

เมื่อโลกทั้งใบได้ถูกเชื่อมโยงให้เล็กลง ด้วยเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในเวลาไม่นานหลังจากนั้น เราก็ได้ยลโฉม
ประดิษฐกรรมต่างๆ มากมาย ที่ทำให้โลกเราเล็กลงไปทุกที จนกระทั่งปัจจุบัน 201X

 

ผมขอตั้งข้อสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงทางสังคมโลกทั้งใบนี้นะครับ
ยุคเกษตรกรรม ใช้เวลา 10,000 ปีกว่าๆ จนมาเป็น ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม
ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ใช้เวลา 186 ปี กลายมาเป็น ยุคเทคโนโลยี
ยุคเทคโนโลยี ใช้เวลา 44 ปี กลายมาเป็น ยุคสารสนเทศและการสื่อสาร
ยุคสารสนเทศและการสื่อสาร ใช้เวลาเพียง 20 กว่าปีเท่านั้น ก็กลายเป็น ยุคปัจจุบัน
จากข้อมูลข้างต้น เราพอจะสรุปได้ว่า “หม้อน้ำอุ่น” ใบนี้
มันค่อยๆ ร้อนขึ้น และ ร้อนขึ้นทุกๆ วันจริงๆ

      หากโลกที่เราอยู่ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงขึ้นทุกวัน มันไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป มันไม่ได้เปลี่ยนแปลงในระดับที่คงที่ แต่มันเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด เสียแล้ว
ใครจะรู้บ้างครับว่า ในเวลาอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ โลกเราอาจจะพบเจอ “ยุคสมัย” ใหม่ๆ ที่เกิดจากมือมนุษย์ที่คิดค้นอะไรดีๆ มันๆ ออกมาให้โลกยลโฉมก็ได้ เพราะ … เราเองก็ต้องหมุนตามไปด้วย จากการทดลอง ทฤษฎีกบต้ม ที่ผ่านมา บรรจบกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วที่ผมสรุปมาให้ คงไม่ต้องบอกอะไรกันมากมายครับ ว่า “กบในหม้อน้ำอุ่น” ใบที่ท่านและผม กำลังอาศัยอยู่นี้ เราควรจะทำอย่างไรกับมันดีครับ ผมมีตัวเลือกให้ท่านเลือกนะครับ ลองมาดูกัน

      อาศัยอยู่ในหม้อใบนี้ต่อไปเรื่อยๆ รอชะตากรรมแห่งการเปลี่ยนแปลงของสังคม ที่มาเร็วมา
ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยการทำตัวเองสวนกระแสสังคม เขาใช้เทคโนโลยีในการทำงาน เราใช้กำลังคนให้มากขึ้น โดยรอรับค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี กระโดดออกจากหม้อใบนี้ เหมือนอย่างกับ กบในหม้อน้ำเดือด ไปอยู่ในหม้อน้ำอุ่นใบใหม่ ที่มีชะตากรรมไม่ต่างกันมากนัก รอวันที่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมจะมาถึง

      เรามาระดมความคิด สร้างเครื่องมืออะไรบางอย่าง เพื่อป้องกันความร้อนจากน้ำที่เดือดขึ้นๆ น้ำเดือดขึ้นเท่าไหร่ เจ้าเครื่องมือนี้ มันก็สามารถปรับอุณหภูมิตามไปได้ทุกองศาความร้อนมีเพียง “แนวความคิด” ที่ว่า เมื่อโลกหมุนไป เราจะต้องหมุนตามให้ทัน เพราะหัวหมุนทุกวัน แต่เรายังทำงานหนัก เหมือนเดิม
      หลังจากที่ผม เปิดบริษัทที่ปรึกษาด้านการพัฒนาองค์กร และ ตระเวนไป จัดสัมมนา ให้ความรู้ และ ให้คำแนะนำ ด้านการพัฒนาองค์กรมาเกือบทุกภาคของไทยแล้ว มีหลายคำถามที่ เกิดขึ้นระหว่างที่ผมจัดสัมมนาอยู่นั้นมากมาย คำถามหนึ่งที่ผมถูกถามบ่อยๆ ก็คือ “ทำงานก็ยุ่ง วุ่นวาย ทั้งวัน ทุกวันอยู่แล้ว
จะพัฒนามันไปทำไม ไม่ทำให้ยุ่งมากกว่าเดิมหรือ”

     คำถามนี้ คงโดนใจผู้อ่านหลายคนนะครับ แต่จริง ๆ แล้วนั่นเป็นเรื่องจริงครับ สำหรับคนที่ยังไม่เข้าใจใน การพัฒนาองค์กร มากนัก ถ้าให้สังเกตพฤติกรรมของคนถาม เราจะพบพฤติกรรมดังกล่าวนี้ครับ
มาทำงาน ตอกบัตร ตรงเวลา ไม่มาก่อน ไม่ออกหลัง โต๊ะทำงาน รกรุงรัง ไม่เป็นระเบียบ แบบแผน
ทำงานไม่เป็นขั้นเป็นตอน ทำอย่างที่ 5 แล้วค่อยกลับมาทำอย่างที่ 1 ทำตัวยุ่งวุ่นวายทั้งวัน ทั้งที่ จริงๆ แล้วมีเวลาว่างกินกาแฟรวม 3 ชั่วโมง ไม่รีบทำงานให้เสร็จ มาทำอีกทีตอนใกล้ๆ จะส่งงานแล้ว มีใครมีพฤติกรรมแบบนี้บ้าง ยกมือขึ้นครับ จริงอยู่ครับ ที่การพัฒนาองค์กร หรือ ถ้าผมจะเรียกอีกนัยหนึ่งว่า “การเปลี่ยนแปลง” ย่อมมีผู้ไม่เห็นด้วย หรือ คนที่คัดค้าน ว่ามัน ยุ่งยาก ลำบาก ยากเย็น แสนเข็ญ อยู่แล้ว
และเป็นเรื่องจริงครับ ที่ว่า การพัฒนาองค์กร ทำให้งานของทุกคน ยุ่งยากเข้าไปอีก แต่มันจะเป็นเช่นนั้น ตลอดไปจริงหรือ

จริงๆ แล้วการทำงานหนักทุกวันอาจเป็นผลมาจากการ “ไม่ยอมพัฒนา” ก็เป็นได้นะครับ

      ผมมักจะยกเรื่องของการ “ปั่นจักรยาน” มาตอบคำถามนี้ครับ คุณเคยปั่นจักรยานไหมครับ
ตอนปั่นจักรยาน ตอนเด็กๆ มันมีขั้นตอนอย่างนี้ครับ เราเริ่มอยากปั่นจักรยาน ด้วยเหตุผลต่างๆ ครับ เพราะ พ่อบอกให้เราปั่น เพราะเพื่อนข้างๆ บ้านปั่นได้แล้ว มันมาชวนเราปั่น เพราะอยากปั่นไปไกลๆ จากบ้านบ้าง เพราะต้องปั่นไปโรงเรียน เพราะ อยากขี่จักรยานยนต์เป็น ต้องหัดจาก จักรยาน ก่อน ผมว่า ปั่นจักรยาน มันดีกว่าเดิน นะครับ ตอนเราเริ่มปั่นแรกๆ ร้อยทั้งร้อย ปั่นยังไม่เป็นหรอกครับ ล้มทุกราย ทั้งที่รู้ว่าต้องปั่นยังไง ต้องขึ้นยังไง ลงยังไง เบรกยังไง ถีบยังไง รู้หมดแต่ยังไง ก็ต้องลองปั่นเองครับ อย่างน้อย เราก็ได้ลองปั่น นะครับ ถามว่าปั่นแรกๆ เหนื่อยไหมครับ เรารู้เลยว่า ยิ่งปั่นยิ่งเหนื่อยยิ่งล้มยิ่งไม่อยากปั่น แต่ยิ่งลองมากขึ้น มากขึ้น ยิ่งเก่งครับยิ่งปั่นได้ง่ายขึ้น เออ มันก็ปั่นได้นะ พอปั่นเป็นนะครับ ปั่นสบายเลย ให้ล้มยังไงก็ยั้งไว้อยู่สามารถปั่นไปนอกรั้วบ้าน นอกหมู่บ้าน ไปหาเพื่อนต่างหมู่บ้าน ปั่นไปโรงเรียน ไปเที่ยวกับเพื่อน ได้ตลอด เห็นไหมครับ ดีกว่าเดินตั้งเยอะ ถามว่า ตอนปั่นเป็น เหนื่อยไหมครับ ก็เหนื่อยนะ แต่ไม่เหนื่อยเท่าตอนหัดแรกๆ ถามว่า ตอนปั่นเป็น ต้องพะวงอะไรไหมครับ ก็ไม่ต้องพะวงมาก ไม่เหมือนตอนหัดแรกๆ ถามว่า หากเปลี่ยนไป ขี่จักรยานยนต์ทำได้ไหมครับ เราก็ตอบว่า ก็น่าลองนะ
มันไม่ต้องปั่นเอง ไม่เหนื่อย ทั้งหมดทั้งมวลคือ จุดแรกเริ่มตอนหัดปั่นจักรยาน ก็เหมือนกับ เริ่มการพัฒนา หรือ เริ่มเปลี่ยนแปลงครับ ยิ่งยุ่งเท่าไหร่ ยิ่งต้องรีบพัฒนาครับ จะได้สบาย ไม่ยุ่งต่อไป เปรียบการทำงานหนักทุกวัน เหมือนการเดินไปทำงานทุกวัน

คำถาม – หากให้คุณเลือก ระหว่าง เดินมาทำงาน กับ ปั่นจักรยานมาทำงาน คุณจะเลือกอะไรครับ
ผมคนหนึ่งที่เลือก การปั่นจักรยานมาทำงานครับ ทำไมเหรอครับ การเดิน  มันช้ากว่า การปั่นจักรยาน สิครับ ในวันที่ผมรีบ ยังไงปั่นจักรยานก็ดีกว่าเดิน แน่ๆ การเดิน มันเหนื่อยกว่า การปั่นจักรยาน สิครับ ในวันที่ผมต้องใช้กำลัง ยังไงปั่นจักรยานก็ทุ่นแรงได้มากกว่า แน่ๆ แต่การปั่นจักรยานให้เป็น มันยุ่งยากมากๆ เลยนะ ยังไงเดินก็สบายกว่า ไม่ยุ่งยาก จริงครับ แต่ถ้าให้เลือกระหว่าง เดิน – ปั่นจักรยาน – ขี่จักรยานยนต์ – ขับรถยนต์ ผมว่า ถึงรถยนต์จะต้องหัดขับรถ ไหนจะมีขั้นตอนการขับที่ยุ่งยากกว่ากว่าเดิน แต่ผมก็เชื่อว่า ยังไงหลายท่านก็เลือก “ขับรถยนต์” กว่าการเดิน หรือ ปั่นจักรยาน แน่นอน ครับ นั่นเพราะ รถยนต์ สามารถทุ่นแรง เราได้มากกว่าสิครับ

     ก็เปรียบเหมือนการทำงานครับ แรกเริ่มเดิมที ที่คิดว่า ทำงานหนัก ยุ่งยาก วุ่นวายทั้งวัน หากเราคิดพัฒนาระบบการทำงาน เสียใหม่เพิ่มขั้นตอนการทำงานเข้าไปเล็กน้อย ถึงแม้ช่วงแรกจะยุ่งยากในเวลา “หัดพัฒนา” แต่เมื่อระบบเข้าที่เข้าทางแล้ว การพัฒนาก็จะช่วย “ทุ่นแรง”ในการทำงานของพวกเราอย่างแน่นอน

Nipat-Chaiworramukkul
Writer Profile
Nipat Chaiworamukkun
Consulting Partner

Leave a Comment