“กัลยาณมิตร” คือหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญของสุขภาวะ
กัลยาณมิตร คือ มิตรแท้ เพื่อนแท้ เพื่อนตาย เพื่อนที่คอยช่วยเหลือเพื่อนอย่างจริงใจโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน เป็นมิตรที่หวังดี มีสิ่งดี ๆ ให้กันด้วยความจริงใจ
คุณสมบัติของกัลยาณมิตร (กัลยาณมิตรธรรม 7)
-
- ปิโย น่ารัก ในฐานเป็นที่สบายใจและสนิทสนม ชวนให้อยากเข้าไปปรึกษา ไต่ถาม
- ครุ น่าเคารพ ในฐานประพฤติสมควรแก่ฐานะ ให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งใจ และปลอดภัย
- ภาวนีโย น่าเจริญใจ หรือน่ายกย่อง ในฐานทรงคุณ คือ ความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง ทั้งเป็นผู้ฝึกอบรมและปรับปรุงตนอยู่เสมอ ควรเอาอย่าง ทำให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยซาบซึ้งภูมิใจ
- วตฺตา รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไรอย่างไร คอยให้คำแนะนำว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี
- วจนกฺขโม อดทนต่อถ้อยคำ คือ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถามคำเสนอแนะวิพากษ์วิจารณ์ อดทน ฟังได้ไม่เบื่อ ไม่ฉุนเฉียว
- คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา แถลงเรื่องล้ำลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อน ให้เข้าใจ และให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป
- โน จฏฐาเน นิโยชเย ไม่ชักนำในอฐาน คือ ไม่แนะนำในเรื่องเหลวไหล หรือชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/กัลยาณมิตร
มนุษย์เรามีเพื่อน มีเพื่อนมาก มีเพื่อนน้อยไม่ใช่ประเด็นที่น่าสนใจมากนัก ที่น่าสนใจคือเพื่อนมีหลายประเภท เพื่อนที่เข้าข่าย “กัลยาณมิตร” มักมีไม่มากนัก
กัลยาณมิตร คือ มิตรแท้ เพื่อนแท้ เพื่อนตาย เพื่อนที่คอยช่วยเหลือเพื่อนอย่างจริงใจโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน เป็นมิตรที่หวังดี มีสิ่งดี ๆ ให้กันด้วยความจริงใจ
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/กัลยาณมิตร
อยากชวนคิดทบทวนดูว่าเมื่อพูดถึง “กัลยาณมิตร” แต่ละท่านนึกถึงใครบ้าง และขอแสดงความยินดีด้วยหากท่านมี “กัลยาณมิตร” เพราะการที่เรามีผู้ที่หวังดี คอยช่วยเหลือเพื่อนอย่างจริงใจโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน เป็นเพื่อนแท้ เพื่อนตาย นั้นมีค่ามากมาย และอยากจะเชิญให้ท่านส่งต่อความเป็นกัลยาณมิตรนี้ต่อไป โดยเฉพาะกับผู้ที่เป็นกัลยาณมิตรของท่านเอง โดยเริ่มจากการแสดงความขอบคุณในความหวังดี ปรารถนาดี เป็นการร่วมกันส่งต่อพลังงานเชิงบวกให้กับคนในสังคมรอบข้าง
จากการทำงานกับผู้นำที่หลากหลาย ผมพบว่าเรามักจะคิดว่าไม่จำเป็นต้องแสดงออก ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวถึงความรู้สึกขอบคุณ เพราะเชื่อว่าเขารู้อยู่แล้วว่าเรารู้สึกขอบคุณ หรืออาจเป็นเพราะว่าเราอาจรู้สึกเขินอายที่จะบอกความรู้สึกของเรา
ในศาสตร์เรื่องจิตวิทยาเชิงบวก Positive Psychology มนุษย์เราสร้างความสุข สังคมสุขภาวะให้กับตนเองและคนรอบข้างได้ไม่ยาก โดยการแสดงออกถึงความรู้สึกขอบคุณนั้นจะเป็นการส่งต่อพลังงานเชิงบวกที่มีพลัง และส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกเชิงบวก ความสัมพันธ์เชิงบวก ซึ่งจะนำให้เกิดสุขภาวะให้กับตนเองและคนรอบข้าง
Writer Profile
Udom Hongchatkul, Ph.D.
Founder & CEO Social Lab Thailand