วิถีแห่งเต๋า…กับมุมโปรดในเช้าวันอาทิตย์ กับหนังสือเล่มโปรด

หนังสือแต่ละเล่ม เมื่อนำมาอ่านซ้ำ เป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับผมเสมอที่ได้สังเกตเห็นว่า เราจะได้ความคิดใหม่ ๆ แตกต่างไปจากเดิม และการกลับมาอ่าน วิถีแห่งเต๋าอีกครั้งในเมื่อวานนี้ ผมก็ได้มุมมองความคิดใหม่จากอ่านครั้งนี้เช่นกัน ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะประสบการณ์ของเรา ช่วงเวลาที่ต่างกัน ความคิด สภาพแวดล้อมที่ต่างกันไป

วิถีแห่งเต๋า กับสำนวนการแปลที่น่าทึ่งของคุณพจนา จันทรสันติ แปลมาจาก คัมภีร์ “เหลาจื่อ” หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” ซึ่งเป็นผลงานอันลือเลื่องและได้รับการยกย่องทั่วโลก กล่าวกันว่าเหล่าจื่อ หรือ เต้าเต๋อจิงนี้ เป็นหนังสือสำคัญที่สุดเล่มหนึ่งของอารยธรรมจีน

 

https://en.wikipedia.org/wiki/Laozi

https://en.wikipedia.org/wiki/Tao_Te_Ching

 

มีผู้รู้บอกกันว่า เต้า เต๋อ จิง เป็นคัมภีร์ขนาดสั้น ที่ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจชั่วชีวิต ช่างเหมาะสมกับเส้นทางชีวิตแห่งการเรียนรู้ของผมเป็นอย่างมากครับ

เต๋านี้เป็นเพียงเต๋ากระดาษ อันชี้นำไปสู่เต๋าที่แท้ ผู้รู้ย่อมละทิ้งเต๋ากระดาษนี้เสีย เพื่อเข้าสู่เต๋าที่เที่ยงแท้

ตามรอยเต๋า…

 

จ้องมอง แต่มิอาจเห็น นี่เรียกว่าไร้รูป

สดับฟัง แต่มิอาจได้ยิน นี่เรียกว่าไร้เสียง

ไขว่คว้า แต่มิอาจจับต้อง นี่เรียกว่าไร้ตัวตน

สิ่งทั้งสามนี้อยู่เหนือคำอธิบายใดๆ

ทั้งหมดนี้ประสานกลมกลืนกัน

และกลายเป็นหนึ่งเดียว

สรรพสิ่งล้วนกลับสู่ต้นกำเนิดเดิม

การกลับไปสู่รากฐานเดิมที่ให้กำเนิดคือความสงบ

เรียกว่ากลับไปสู่ธรรมชาติเดิมของตน

 

เต๋าเป็นสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยคำพูด ถ้อยคำ หรือเหตุผล ดังที่คุณพจนา จันทรสันติ อธิบาย ‘เต๋า’ ในภาษาจีนแปลว่า หนทาง หรือ วิถี เต๋าคือทาง หากเป็นทางที่ไร้หนทาง เป็นวิถีที่ปราศจากวิถี เป็นหนทางที่ยิ่งใหญ่ที่ไม่อาจแลเห็น ไปไม่ได้ด้วยการเดิน และไม่อาจนำไปสู่จุดหมายใดๆ เพราะโดยแท้จริงแล้ว ตัวหนทางนั้นเองคือจุดหมาย

สิ่งที่ได้จากการอ่าน วิถีแห่งเต๋าในรอบนี้ สอดคล้องกับเส้นทางชีวิตแห่งการเรียนรู้ของผมเรื่องการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยความรัก ด้วยความเอื้ออาทร Compassionate Systems…

สัจจะ เรื่องจริง ความจริง หรือแก่นแท้คือเรื่องของธรรมชาติ การเข้าใจในธรรมชาติ เราคือส่วนหนึ่งของระบบ เราคือส่วนหนึ่งของธรรมชาติ หรือนี่คือความจริง คล้ายกับเรื่องที่ผมได้เรียนรู้จาก Center for Systems Awareness เรื่องที่อาจารย์ปีเตอร์ เซ็นเก้ ได้แบ่งปันกับพวกเรา The matter of less effort ระหว่างที่นั่งฟังอยู่ตอนนั้น คล้ายกับกำลังฝึกวิทยายุทธขั้นสูง เปรียบได้กับคำพูดที่ว่า กระบี่อยู่ที่ใจ หากเยี่ยมยุทธแล้วไซร้ แม้กิ่งไผ่ก็ยังไร้เทียมทาน เมื่อฝึกจนถึงขั้นนั้นแล้วก็ไม่จำเป็นจะต้องมีกระบี่เนื้อดี ความจริงแท้คือ สูงสุด คืนสู่สามัญ คือธรรมชาติ

ด้วยท่าที ด้วยท่าทางที่เป็นธรรมชาติที่สุด ด้วยหัวใจที่ไม่ปิดกั้น การนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ เป้าหมายอยู่ที่ทำอย่างไร ให้ใช้ความพยายามน้อยที่สุด เมื่อเราสนใจอะไรบางอย่าง เราก็จะรักในสิ่งนั้น หรือเมื่อเรารักอะไรบางอย่างแล้ว เราก็จะสนใจในสิ่งนั้น และเรื่องนี้ก็จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยที่ไม่ต้องใช้ความพยายามใดๆ

 

The challenge is how we do care others and the nature more.

Not the Matter of Effort but the Matter of Less Effort.

 

Compassionate integrity…

The basic aim of the Compassionate Systems Framework is to grow “compassionate integrity” – to have alignment between how we think, feel and act by virtue of an ever-unfolding awareness of interconnectedness.

Compassionate Integrity: alignment between how we think, feel and act. The term “integrity” comes from a root of “wholeness” in Latin…

– To grow the ability to not only think compassionately but to also feel and live compassionately by virtue of an ever-unfolding awareness of interconnectedness.

 

My learning journey…

My Compassionate Systems Journey…

The lifelong learning journey of practice, practice and practice…

The journey that I choose…

 

Collective Leadership for Collective Impact…

Co-Creating Culture of Collaboration…


Dr-Udom-Sociallabthailand

Writer Profile
Udom Hongchatkul, Ph.D.
Founder & CEO Social Lab Thailand